Copyright 2024 - Custom text here

มาตรฐานการจัดการโรคเบาหวานในหน่วยบริการ

       โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง การพบแพทย์และทีมงานเป็นระยะเพื่อตรวจและประเมินผลการรักษา จึงจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน นอกจากนี้ ควรมีการประเมินและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนในระยะยาว และควรมีการตรวจค้นหาโรคแทรกซ้อนในระยะเริ่มแรกซึ่งยังไม่มีอาการแสดงออกเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม ทำให้สามารถยับยั้งการดำเนินของโรคหรือทำให้โรคแทรกซ้อนดีขึ้น เมื่อเกิดโรคแทรกซ้อนมีการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคเพื่อร่วมรักษาตามระยะของโรค ผู้ป่วยเบาหวานต้องพบนักสุขศึกษาหรือพยาบาลและ/หรือนักกำหนดอาหาร เพื่อทบทวนความเข้าใจถึงความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการรักษา สร้างแรงจูงใจและเสริมพลังในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

 

       เพื่อให้เกิดสิ่งที่กล่าวข้างต้นจะต้องมีการจัดระบบบริการให้ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้รับบริการภายในเวลาที่เหมาะสม มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในทีมงานอย่างชัดเจน และมีการประสานงานที่ดี มีการกำหนดตัวชี้วัดของระบบบริการที่ต้องประเมินและติดตาม รวมทั้ง กำหนดการจัดเก็บข้อมูล ประเมินผล และนำผลที่ได้มาพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น ภาพรวมของระบบบริการแสดงในแผนภูมิที่ 1 การมีผู้จัดการระบบเฉพาะโรคเรื้อรัง (disease manager) อาจทำให้การจัดระบบบริการมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

 

* ในกรณีที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย  ให้เน้นการส่งปรึกษานักสุขศึกษา พยาบาล นักกำหนดอาหารร่วมไปกับการพบแพทย์

แผนภูมิที่ 1. ภาพรวมการบริการโรคเบาหวานในหน่วยบริการ

                การลดปัจจัยเสี่ยงหรือป้องกันโรคเบาหวานเป็นหน้าที่ของหน่วยบริการด้วย ใช้หลักการดำเนินงานเช่นเดียวกัน อาจแยกวันให้บริการต่างหากขึ้นกับปริมาณงานและบุคลากร ในปัจจุบัน มีนโยบายเน้นการป้องกันโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง และอื่นๆ การแยกเป็นคลินิกส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรังเหล่านี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด

            บุคลากรในทีมและบทบาทหน้าที่ขึ้นกับระดับของหน่วยบริการ มีข้อกำหนดคร่าวๆ ดังนี้ 1

ระดับบริการ

บทบาท

ประเภทบุคลากรหลัก

หน่วยบริการปฐมภูมิ

·        ป้องกันการเกิดโรค ให้บริการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย และให้การรักษาเบื้องต้น

·        ให้องค์ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน (อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ งดบุหรี่ งดเหล้าหรือดื่มในปริมาณที่จำกัด)

·        ให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวานและบุคคลในครอบครัว

·        ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อให้สุขศึกษา กระตุ้นการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ และให้ไปรับบริการอย่างต่อเนื่อง

·        ควรจัดตั้งชมรมเพื่อสุขภาพในชุมชน

แพทย์ (ถ้ามี)

พยาบาลเวชปฏิบัติ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

หน่วยบริการทุติยภูมิ

·        ป้องกันการเกิดโรค ให้บริการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย และให้การรักษา

·        คัดกรอง ค้นหา วินิจฉัยโรคแทรกซ้อน และให้การรักษาที่ซับซ้อนกว่าระดับปฐมภูมิ

·        ให้องค์ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน

·        เน้นความรู้เพื่อการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวานและบุคคลในครอบครัว

·        ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เน้นทักษะ การดูแลตนเองและการไปรับบริการอย่างต่อเนื่อง

·        ควรจัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

อายุรแพทย์

กุมารแพทย์

เภสัชกร

พยาบาล

นักกำหนดอาหาร

นักสุขศึกษาหรือ

วิทยากรเบาหวาน

(diabetes educator)

 

หน่วยบริการตติยภูมิ

·        เช่นเดียวกับหน่วยบริการทุติยภูมิ แต่ให้การรักษาที่มีความซับซ้อนกว่าระดับทุติยภูมิ

·        พัฒนาคุณภาพงานบริการผู้ป่วยเบาหวานและการเยี่ยมบ้าน ตลอดจนการจัดเครือข่ายบริการที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

·        เป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาชมรมผู้ป่วยเบาหวานแก่โรงพยาบาลระดับต่ำกว่า

แพทย์/กุมารแพทย์ระบบ

ต่อมไร้ท่อ หรือผู้เชี่ยวชาญโรคเบาหวาน         แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น

เช่น ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์  แพทย์โรคไต    เภสัชกร พยาบาล  นักกำหนดอาหาร

วิทยากรเบาหวาน

หน่วยบริการตติยภูมิ    ระดับสูง

·        เช่นเดียวกับหน่วยบริการตติยภูมิ แต่สามารถให้การรักษาโรคที่ซับซ้อนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ครอบคลุมมากขึ้น

เช่นเดียวกับหน่วยบริการ

ตติยภูมิ และมีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นเพิ่ม

เช่น ศัลยแพทย์ทรวงอก ศัลยแพทย์หลอดเลือด

อายุแพทย์โรคหัวใจ

พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์การรักษา

 

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554    

ตัวชี้วัดการดูแลและบริการโรคเบาหวานของสถานพยาบาล

            อัตราการลดลงของกลุ่มเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยง โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว รอบเอว พฤติกรรมการบริโภค การมีกิจกรรมออกแรงหรือออกกำลังกาย เป็นตัวชี้วัดที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน ตัวชี้วัดที่ติดตามเพื่อบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย และการบริหารจัดการภาระโรคเบาหวาน5 ได้แก่

  • อัตราความชุก (Prevalence) และอัตราการเกิดโรค (Incidence)
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • อัตราผู้ป่วยที่มีระดับ fasting  plasma  glucose  อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (FPG = 70 - < 130 มก./ดล.)
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1c ประจำปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ HbA1c น้อยกว่า 7%
  • อัตราการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวาน
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ lipid profile ประจำปี
  • อัตราของผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ LDL-C น้อยกว่า 100 มก./ดล.
  • อัตราของระดับความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ microalbuminuria ประจำปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานมี microalbuminuria ที่ได้รับการรักษาด้วยยา ACE inhibitor หรือ ARB
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตา ประจำปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ประจำปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าอย่างละเอียด ประจำปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา
  • อัตราของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการสอนให้ตรวจและดูแลเท้าด้วยตนเอง หรือสอนผู้ดูแลอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อปี
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น diabetic retinopathy
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น diabetic nephropathy
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี myocardial infarction
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี cerebral infarction
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง impaired fasting glucose (IFG)
  • อัตราการส่งกลับ/ส่งต่อผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ไปดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชน/โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

                     จำนวนและเป้าหมายของตัวชี้วัดขึ้นกับลักษณะของหน่วยบริการ สามารถปรับให้เหมาะสมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ตารางที่ 3. การประเมินผู้ป่วยเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการส่งต่อ 1

 

รายการ

ความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยงปานกลาง*

ความเสี่ยงสูง*

มีโรคแทรกซ้อนเรื้อรังระยะสุดท้าย**

การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด

·        HbA1c < 7%

·        HbA1c 7.0-7.9%

·        HbA1c ?8%

·        มี hypoglycemia 

   3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

โรคแทรกซ้อนทางไต

·        ไม่มี proteinuria

·        Albumin/creatinine

   ratio < 30

   ไมโครกรัม/กรัม

·        มี  microabuminuria

·        มี macroproteinuria

·         serum creatinine = 1.5 มก./

 ดล. หรือeGFR 30-59 และมี 

 การลดลงไม่มากกว่า

 7 ml/min/1.73 m2

·        serum creatinine

    ? 2 มก./ดล. หรือeGFR   

 30-59 และลดลง > 7  

 ml/min/1.73 m2 หรือ

 eGFR< 30 ml/min/1.73

 m2

โรคแทรกซ้อนทางตา

·         ไม่มี retinopathy

 

·        mild NPDR

·         moderate NPDR

·         VA  ผิดปกติ

·        severe NPDR

·        PDR

·        Macular edema

·        VA ผิดปกติ

โรคหัวใจและหลอดเลือด

·        ไม่มี hypertension

·        ไม่มี dyslipidemia

·        ไม่มีอาการของระบบ หัวใจและหลอดเลือด

·        มี hypertension และ/

    หรือ dyslipidemia   

    กำลังรับการรักษา

    และควบคุมได้ตาม

    เป้าหมาย

·        ควบคุม hypertension และ/

    หรือ dyslipidemia ไม่ได้ตาม

    เป้าหมาย

   

·        มี angina pectoris

   หรือCAD หรือ

   myocardial infarction   

   หรือ ผ่าตัด CABG

·        มี CVA

·        มี heart failure

โรคแทรกซ้อนของเท้า

·        protective sensation

   ปกติ

·        peripheral pulse ปกติ

·        มี peripheral

    neuropathy

·        peripheral pulse

    ลดลง

·        มีประวัติแผลที่เท้า

·        previous amputation

·        มี intermittent

    claudication

·        มี rest pain

·        พบ gangrene

 

*  ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงควรส่งพบอายุรแพทย์หรือแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นระยะ

**  ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเรื้อรังรุนแรงควรส่งพบแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรคเพื่อดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

eGFR12 = estimated glomerular filtration rate ; NPDR = non-proliferative diabetic retinopathy; 

PDR = proliferative diabetic retinopathy;  VA = visual acuity; CAD = coronary artery disease;

CABG = coronary artery bypass graft; CVA cerebrovascular accident

 

บุคลากรในทีมบริการโรคเบาหวานและบทบาทหน้าที่

            บุคลากรในทีมขั้นต้นควรประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลหรือวิทยากรเบาหวาน และนักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ (พยาบาลอาจทำหน้าที่แทนนักกำหนดอาหารได้) บุคลากรเพิ่มเติมได้แก่ เภสัชกร นักสุขศึกษาหรือกายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา นักสังคมสงเคราะห์ อสส./อสม. ในหน่วยบริการตติยภูมิอาจมีอายุรแพทย์และผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จักษุแพทย์ และศัลยแพทย์สาขาต่างๆ นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ หน่วยบันทึกข้อมูลและประเมินผล โดยบุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากเพียงพอ เข้าใจจุดประสงค์และวิธีการรักษา 

            แพทย์ มีหน้าที่ให้การวินิจฉัย คำแนะนำ กำหนดเป้าหมายการรักษา ให้การรักษาและปรับเปลี่ยนการรักษาเมื่อจำเป็น หาสาเหตุและข้อบกพร่องในการไม่บรรลุเป้าหมายการรักษารวมทั้งกำหนดการแก้ไข ตัดสินความจำเป็นในการส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และในการส่งต่อ/ส่งกลับ ตรวจสอบผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน (ถ้ามี) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจผลที่ตรวจพบ แนะนำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็น

พยาบาลหรือวิทยากรเบาหวาน ให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล ติดตาม ทบทวน ตรวจสอบความรู้และทักษะที่มีว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ สามารถกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ และพลังจิตให้เกิดความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ค้นหาการเบี่ยงเบนของความรู้และทักษะที่อาจเกิดขึ้น มีความคุ้นเคยและรู้สภาพเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย แนะนำวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน (ถ้ามี) อาจต้องทำหน้าที่แนะนำวิธีการและการเพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายด้วย อาจต้องออกเยี่ยมบ้านแล้วแต่กรณีไป

นักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ ให้คำแนะนำอาหารที่เหมาะสมหรือตามที่แพทย์กำหนด ทบทวนกับผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นระยะ เพื่อทดสอบความเข้าใจ ทักษะ และความถูกต้องของการเลือกบริโภค สามารถกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ และพลังใจให้เกิดความร่วมมือทางด้านโภชนาการ สามารถค้นหาข้อบกพร่องของการปฏิบัติด้านโภชนาการได้ และให้คำแนะนำการบริโภคอาหารรวมทั้งติดตามประเมินเมื่อผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างเหมาะสม

เภสัชกร ให้คำแนะนำการใช้ยา ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของการใช้ยา ตรวจสอบและเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยา การแพ้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยากับยาหรือระหว่างยากับอาหาร เภสัชกรสามารถทำหน้าที่ให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลแทนพยาบาลได้

นักสุขศึกษาหรือกายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา แนะนำวิธีการและให้มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ แนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย ประเมินความเสี่ยงจากการออกกำลังกาย ความร่วมมือ ความก้าวหน้า และสมรรถภาพทางกายเป็นระยะ

นักสังคมสงเคราะห์ ประเมินสภาพเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย ให้การประคับประคองและความช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา เยี่ยมบ้าน ให้กำลังใจ

การเยี่ยมบ้าน จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพมาก การเดินทางไปโรงพยาบาลมีอุปสรรค ต้องมีการติดตามใกล้ชิด และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ขาดผู้ดูแลหรือผู้ดูแลขาดความเข้าใจ เพื่อติดตามความร่วมมือในการรักษา ทั้งด้านโภชนาการ การมีกิจกรรมออกแรง การบริหารยา ติดตามผลการรักษา ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจให้เกิดความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เตือนและช่วยเหลือการพบแพทย์ตามนัด

            ควรมีการประชุมทีมงานเป็นระยะเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ค้นหาข้อบกพร่องหรือจุดที่จะพัฒนา มีการหยิบยกกรณีผู้ป่วยที่เป็นปัญหาขึ้นมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนแก้ไขร่วมกัน

 

การให้ความรู้โรคเบาหวาน

การให้ความรู้โรคเบาหวานมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ป่วยและ/หรือผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน วิธีการดูแลรักษา ความร่วมมือในการรักษา ตลอดจนสามารถปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการรักษาได้ ผู้ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยต้องมีความรู้ความเข้าใจโรคเบาหวานเป็นอย่างดี มีความมุ่งมั่น มีทักษะ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจและเสริมพลัง (empowerment) ให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง

 

            เนื้อหาความรู้เรื่องโรคเบาหวานที่จำเป็นในการให้ความรู้โรคเบาหวาน ประกอบด้วย

  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน
  2. โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
  3. โภชนบำบัด
  4. การออกกำลังกาย
  5. ยารักษาเบาหวาน
  6. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะและแปลผลด้วยตนเอง
  7. ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและวิธีป้องกันแก้ไข
  8. การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป
  9. การดูแลในภาวะพิเศษ เช่น ตั้งครรภ์ ขึ้นเครื่องบิน เดินทางไกล ไปงานเลี้ยง เล่นกีฬา
  10. การดูแลรักษาเท้า

ในกรณีของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1  ควรเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องยาอินซูลิน ชนิด การออกฤทธิ์ ความสัมพันธ์ของยาอินซูลิน กับ อาหาร การออกกำลังกาย การเจาะเลือดประเมินผลการควบคุมเบาหวานด้วยตนเอง (SMBG) 4 ครั้งต่อวัน

หมายเหตุ: ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๐
               ๔๔๗ ถนนลำพูน ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๐๐๐

 

     

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

 เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module


สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย 
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN 


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

โครงการ For Your Sweetheart ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหัวใจโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และครอบครัวทราบถึงความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งให้ความรู้กับบุคคลใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีรวมไปถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

 



 


 
 
 
 
 

                       

   

 

1541448
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
855
6941
56488
47130
32387
1307285
1541448

Your IP: 172.70.131.52
2024-05-05 02:59