Copyright 2024 - Custom text here

โรคเบาหวาน มีต้นเหตุของโรคที่หลากหลาย แต่ที่สำคัญคือการควบคุมเบาหวานนั้น อาหารที่รับประทานเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารเป็นสิ่งสำคัญ

         อย่างไรก็ดีเราพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายหลังการได้รับข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องนั้น มีผลในระยะสั้น ทำให้ต้องทำการให้ข้อมูล ข่าวสารเดียวกัน ซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันมีผู้คนที่รับทราบข้อมูล จดจำได้ และเข้าใจถึงปัญหา แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ด้วยเหตุผลมากมาย ซึ่งกรณีหลังนี้ ขัดกับหลักแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์โดยสิ้นเชิง เพราะนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์ที่มีเหตุผล ควรที่จะตัดสินใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตนเองมากที่สุดภายใต้ข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ที่เขาเผชิญ

         การบรรยายนี้จะนำแนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งเป็นการผสมแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยามาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค โดยใช้ตัวอย่างด้านการบริโภคอาหาร

         ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การทดลอง ที่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเลือกชุดอาหารจานด่วนที่ชอบ โดยแต่ละคนจะได้รับรูปแบบรายการการอาหารที่มีการนำเสนอที่แตกต่างกัน แต่ในความแตกต่างนี้ ทุกคนจะมีตัวเลือกของชุดอาหารสุดท้ายเหมือนกัน หรือแปลว่าทุกคนมีตัวเลือกที่เหมือนกันนั่นเอง ต่างกันที่วิธีการเสนอ

         ในอาหารหนึ่งชุดจะประกอบไปด้วย เบอร์เกอร์ (ปลาหรือไก่) เครื่องดื่ม (น้ำอัดลมหรือน้ำเปล่า) และมันฝรั่งทอด ทำทุกคนมีสี่ตัวเลือก ต่างกันที่วิธีการนำเสนอทางเลือก (เมนู)

         จากการทดลองพบว่า ผู้เข้าร่วมตัดสินใจเลือกอาหาร ตามเมนูที่นำเสนอ มากกว่าการเปลี่ยนไปสั่งชุดอื่น เช่น คนที่ได้รับเมนูที่เน้นน้ำเปล่าจะมีบางส่วนเท่านั้นที่ขอเปลี่ยนไปเป็นน้ำอัดลม เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองที่ได้รับเมนูแบบไม่มีเมนูหลัก (นำเสนอทั้งสี่ชุดพร้อมกัน) เราพบว่าเราสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเลือกบริโภค เบอร์เกอร์ปลา และน้ำเปล่าเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ (โดยคำนึงถึงความชอบส่วนบุคคลแล้ว)

หากเรานำแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ผสมผสานกับการให้ข้อมูล ความรู้ และนโยบายอื่นๆ น่าจะช่วยป้องกันโรคเบาหวานและ NCDs ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ และแคนาดา ได้มีการตั้งหน่วยงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (nudge unit) เพื่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ เนื่องจากเชื่อว่าจะสามารถประหยัดงบประมาณและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดำเนินนโยบายระยะยาว

บทความจาก ผศ.ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

3720376
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
8324
10859
36766
68045
85706
3311110
3720376

Your IP: 162.158.78.241
2024-10-09 16:57