Copyright 2024 - Custom text here

Glucocorticoid (Steroid) เป็นยาต้านการอักเสบที่ใช้ในการรักษาโรคได้หลายๆ เช่น โรคหอบหือ ถุงลมโป่งพอง nephrotic syndrome, systemic lupus erythematosis หรือโรคผิวหนังบางชนิด อย่างไรก็ดี หากใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ในขนาดสูงและ/หรือ ใช้เป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดสูง (โดยส่วนใหญ่น้ำตาลในเลือดมักสูงหลังอาหาร) เบาหวาน (Glucocorticoid-induced diabetes mellitus: GIDM) กระตุ้นการทำงานของระบบการแข็งตัวของเลือด ก่อให้เกิดสารก่อการอักเสบต่างๆ endothelial dysfunction ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจได้

การเกิดน้ำตาลในเลือดสูงจากสเตียรอยด์ เกิดได้จากหลายกลไก ได้แก่ incresed insulin resistance, increase glucose intolerance, reduced b-cell mass, b-cell dysfunction และ impaired suppression of hepatic glucose production เป็นต้น ภาวะนี้พบได้ทั้งในผู้ที่ไม่เคยเป็นเบาหวาน และผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว ถึงแม้ว่า ผลของสเตียรอยด์ต่อระดับน้ำตาลในเลือด มักส่งผลชั่วคราว และสามารถกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม การวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันผลเสียจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ใช้ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูง ผู้สูงอายุ น้ำหนักเกิน มีภาวะเสี่ยงเบาหวาน เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ หรือ ระดับน้ำตาลสะสม > 6% เป็นต้น

การวินิจฉัย GIDM ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยเช่นเดียวกับการวินิจฉัยเบาหวานโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี การเจาะน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8ชั่วโมง (FPG) อาจทำให้ผู้ป่วยเบารายไม่ได้รับการวินิจฉัย เนื่องจาก GIDM มักพบน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหาร ดังนั้น การวัดระดับน้ำตาลหลังอาหารเที่ยงอาจแม่นยำกว่า FPG

การรักษา GIDM โดยทั่วไป ไม่แตกต่างจากการรักษาโรคเบาหวาน ทั้งนี้ การเลือกใช้ยาลดระดับน้ำตาลทั้งชนิดรับประทานหรือฉีด ขึ้นอยู่กับภาวะเบาหวานก่อนการรักษาด้วยสเตียรอยด์ ชนิด ขนาดและระยะเวลาของยาสเตียรอยด์ที่ใช้ โดยควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหาร < 130 mg/dL, หลังอาหาร < 180 mg/dL และน้ำตาลสะสม A1c < 7% เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดสูงและ ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนทางด้านหัวใจและหลอดเลือด

บทความจาก พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

อ่่านต่อ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4515447/

รูปจาก https://www.diapedia.org/other-types-of-diabetes-mellitus/41040851146/steroid-diabetes

     

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

 เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module


สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย 
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN 


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

โครงการ For Your Sweetheart ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหัวใจโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และครอบครัวทราบถึงความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งให้ความรู้กับบุคคลใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีรวมไปถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

 



 


 
 
 
 
 

                       

   

 

1479135
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1178
6376
41305
41127
171850
1148416
1479135

Your IP: 172.69.7.50
2024-04-27 03:59