Copyright 2024 - Custom text here

ความอ้วนและการลดนํ้าหนักคงเป็นหนึ่งในเรื่องที่หลายคนกังวลทุกครั้งที่ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

ในวันนี้อยากหยิบยกหนึ่งในพฤติกรรมการกินตามกระแสที่สุดแสนจะร้อนแรงอย่าง Intermittent Fasting หรือ คำย่อที่รู้จักกันในวงการคนลดนํ้าหนักคือ IF ภาษาไทยอาจใช้คำว่า “การงดอาหารเป็นช่วง ๆ” หรือ “การงดอาหารเป็นเวลา” ซึ่งอธิบายวิถีการกินแบบนี้ได้ดี

การงดอาหารเป็นช่วง ๆ มีแนวคิดสำคัญ 3 ข้อ คือ 

1) เลือกงดอาหารเป็นเวลาในระดับที่ทนได้

2) ในช่วงงดอาหารสามารถกินอาหารพลังงานตํ่าได้เล็กน้อย และ

3) ในช่วงกินอาหารต้องกินอาหารในปริมาณพอดี ซึ่งสามารถแบ่งการงดอาหารเป็นช่วง ๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรก กินอาหารได้ทุกวัน แต่จำกัดเวลากิน ในแต่ละวัน แบบนี้เรียกว่า Time- restricted fasting (TRF) โดยมีรหัสตัวเลขที่รวมกันแล้วได้ 24 เท่ากับ 24 ชั่วโมงในแต่ละวันพอดี ยกตัวอย่างเช่น

16:8 หมายถึง งดอาหาร 16 ชั่วโมง กินอาหารได้ 8 ชั่วโมง โดยจะเริ่มกินมื้อแรกตอนกี่โมงก็ได้ แต่มื้อสุดท้ายจะต้องภายในเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมงจากเริ่มกินมื้อแรก เช่น กินมื้อแรก 8 โมงเช้า ต้องกินอาหาร มื้อสุดท้ายภายใน 4 โมงเย็น สูตรนี้เป็นที่นิยมเพราะปฏิบัติได้ง่าย และคล้าย ๆ กับความเชื่อเรื่อง “ไม่กินมื้อเย็นดึก ๆ” มนุษย์ออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ดีเพราะมักกินมื้อแรกตอนเที่ยง และกินมื้อสุดท้ายไม่เกิน 2 ทุ่ม

19:5 หมายถึง ให้กินอาหารได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมงและต้องงดการกินอาหาร 19 ชั่วโมง

การงดอาหารเป็นช่วง ๆ นั้นจะไม่ช่วยลดนํ้าหนักเลย ถ้ายังกินอาหารที่ให้พลังงานใกล้เคียงปกติ

เป็นเพียงกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้กินอาหารเป็นเวลา และเมื่อจำกัดเวลาการกิน ก็ควรได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลง นอกจากนี้งานวิจัยคุณภาพดียังบ่งชี้ประโยชน์ของการควบคุมอาหารตามวิธีการมาตรฐานดั้งเดิม เมื่อลดนํ้าหนักได้เพียงร้อยละ 3 ของนํ้าหนักตั้งต้นก็ให้ประโยชน์ได้ไม่แตกต่างไปจากการงดอาหารเป็น ช่วง ๆ แต่มีความทรมานร่างกายน้อยกว่า โดยสรุปแล้ว ควรเลือกใช้แนวทางปฏิบัติหรือวิถีที่เหมาะสมกับตัวเองในการลดนํ้าหนัก โดยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรมานร่างกายเกินความจำเป็น เพื่อช่วยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน.

 

ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

อ่านต่อ https://www.dailynews.co.th/article/707471

เข้าใจเบาหวาน



ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน



น้ำตาล</span >


วันเบาหวานโลก


สถิติ


บริจาค


วารสารเบาหวาน


วงล้อดัชนีน้ำตาล


เครือข่ายชมรมเบาหวาน

 

เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30 ปี

Thai-Type 1 Diabetes and Diabetes diagnosed Age before 30 years Registry, Care and Network (T1DDAR CN) เครือข่าย T1DDAR CN

คู่มือ


สื่อการสอน T1DDAR CN และ
DSME module



สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
T1DDAR CN

รู้จักเรา "T1DDAR CN"


ประมวลภาพกิจกรรม


หนังสือ


 

เอกสารโครงการ T1DDAR CN


T1DDAR CN DASH BOARD


ช่องทางติดต่อเครือข่าย T1DDAR CN

 

 
 

 



 







 
 

3720110
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
8058
10859
36500
68045
85440
3311110
3720110

Your IP: 172.70.35.113
2024-10-09 16:23