Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ร่างกายนำกลูโคสจากอาหารที่รับประทานไปใช้เป็นพลังงานได้ดี สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินน้อยลง หัวใจแข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในอนาคต

ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกายได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะ หรือเดิน

- ออกกำลังแอโรบิค ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์  หรือออกกำลังกายระดับหนัก อย่างน้อย 75นาที ต่อสัปดาห์

- ออกกำลังกล้ามเนื้อ muscle-strengthening เช่น ยกน้ำหนัก เกร็งกล้ามเนื้อ โดยเลือกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์

ข้อแนะนำ

-ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจออโตโนมิกผิดปกติ ควรประเมินการทำงานของหัวใจก่อนการออกกำลัง หรือ ผู้ที่มีแผลที่เท้า ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่มีผลต่อเท้า เช่น วิ่ง หรือ กระโดดตบ เป็นต้น

-ก่อนและหลังออกกำลังกาย ควรยืดเหยียด warm up และ cool down กล้ามเนื้อแต่ละส่วน เช่น คอ ไหล่ แขน เข่า ขา เพื่อลดการบาดเจ็บ และปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ

- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีเบาหวานลงไต หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ สามารถออกกำลังกายได้ โดยไม่ส่งผลให้โปรตีนรั่วในปัสสาวะเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

-ออกกำลังเวลาเดียวกันในแต่่ละวัน

-หากใช้ยาฉีดอินซูลิน หรือรับประทานยาลดน้ำตาลหลายชนิด ควรเจาะน้ำตาลปลายนิ้วก่อน และหลังออกกำลัง เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ

- เตรียมน้ำตาล หรือลูกอมไว้ เผื่อมีอาการน้ำตาลต่ำ ขณะออกกำลังกาย

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา