Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เบาหวานชนิดที่2 ชนิดนี้พบมากที่สุด (ประมาณ 90%) ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) เมื่อรับประทานอาหาร ตับอ่อนพยายามผลิตอินซูลิน เพื่อน้ำน้ำตาลจากอาหารเข้าเซลล์ไปใช้เป็นพลังงาน แต่ภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นเบาหวาน และเมื่อเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รักษา น้ำตาลที่สูงเป็นระยะเวลานาน ยังส่งผลให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อเซลล์ตับอ่อน (glucotoxicity) ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่ได้ เกิดภาวะขาดอินซูลิน (insulin secretory defect) ร่วมด้วย

 

อาการของเบาหวาน เช่น กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ผอมลง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตามัว แผลหายช้า

 

เบาหวานชนิดที่ 2 มีลักษณะทางคลินิกดังนี้

 

• ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 30 ปี

 

• อาการเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือไม่มีอาการ มักตรวจพบเมื่อเช็คสุขภาพทั่วไปโดยบังเอิญ

 

• มีรูปร่างอ้วนท้วม(abdominal obesity) รับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ใช้ ไม่ค่อยออกกำลังกาย ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย (sedentary lifestyle)

 

• มีประวัติเบาหวานในครอบครัว

 

 

photo from: http://www.diabeticretinopathy.org.uk/prevention/HBA1c%20&%20type%202%20diabetes.htm

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา