Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2

การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ควรเป็นเเบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered approach) การเลือกยา พิจารณาจากผู้ป่วย อายุ ระดับความรุนแรงของอาการ ระดับน้ำตาล โรคร่วม ประสิทธิภาพของยา ราคา และผลข้างเคียง

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ควรได้รับการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle modifications) เพิ่มกิจกรรมทางกาย ออกกำลัง ลดน้ำหนัก 5 เปอร์เซนต์ของนน.ตัวเดิม จำกัดอาหารหวาน และอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป ควรสอนให้รู้จักอาหารแลกเปลี่ยน

 

1. ยารักษา ตัวแรก ที่ควรให้ ถ้าไม่มีข้อห้าม คือ  metformin  (A rating) เป็นยาไม่แพง ประสิทธิภาพดี ผลข้างเคียงน้อย ลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดผลแทรกซ้อนด้านหัวใจในระยะยาว

 

2. เมื่อยาตัวแรกไม่ได้ผล อาจใช้ยาตัวที่ 2 ได้หลายชนิด เช่น sulfonylureas, thiazolidinediones, dipeptidyl peptidase-4 inhibitors, sodium–glucose cotransporter 2 (SGLT2) inhibitors, glucagon-like peptide-1 (GLP-1) agonists, or basal insulin (ตามรูป).

 

3. ยาอื่น เช่น α-glucosidase inhibitors, bromocriptine, colesevelam, and pramlintide พิจารณาใช้ตามสถานการณ์

 

4. อินซูลิน ใช้เมื่อระดับน้ำตาลสูงมาก มีอาการรุนแรง เลือดเป็นกรด เนื่องจากสามารถปรับขนาดยาได้เร็วเพื่อให้น้ำตาลกลับมาเป้นปกติโดยใช้เวลาไม่นาน การใช้อินซูลิน แบ่งเป็น basal and prandial insulins

 

- Basal insulin เริ่มที่ 10 units หรือ 0.1 to 0.2 units/kg of body weight. สามารถใช้ร่วมกับ metformin หรือยาเม็ดลดน้ำตาลชนิดอื่นได้

 

- Bolus insulin เช่น regular insulin หรือ insulin analogues ออกฤทธิ์เร็ว ลดน้ำตาลตามมื้ออาหาร

 

 

ที่มา- http://annals.org/article.aspx?articleid=2498492

 

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา