Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (part1 ความหมายและประเภท)

 

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. เบาหวานที่เกิดก่อนการตั้งครรภ์ (Pre-gestational diabetes) ผู้ป่วยเป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและต้องการตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติก่อนการตั้งครรภ์ โดยควรคุมให้ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) น้อยกว่า 6.5% อย่างน้อย3 เดือน รวมถึงประเมินโรคของหลอดเลือดต่างๆ เช่น ตรวจตาและการทำงานของไต ก่อนตั้งครรภ์

2. เบาหวานที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) เป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาระดับน้ำตาลให้ปกติ เพื่อลดผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ดังนั้น หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน ควรคัดกรองเบาหวานโดยการตรวจวัดความทนต่อกลูโคส ดังนี้

- หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (เช่น อ้วน อายุมาก เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) ควรคัดกรองเบาหวานทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ หากปกติ ให้ตรวจคัดกรองอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์

- หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง คัดกรองเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์

- หญิงที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น อายุ < 25 ปี น้ำหนักตัวปกติก่อนตั้งครรภ์ ไม่เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ และไม่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน อาจไม่ต้องตรวจคัดกรองเบาหวาน

(part2 แนวทางการคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์)

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา