Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

"ภาวะหยุดหายใจขณะหลับกับโรคเบาหวาน".

ภาวะนี้ไม่ใช่เป็นการหยุดหายใจไปเลยขณะนอน แต่การหายใจจะช้าลงหรือหยุดเป็นระยะ แต่ก็จะกลับมาหายใจใหม่ ดังนั้นผู้ที่เป็นอาจจะไม่รู้ตัวเองว่าเป็น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อการหายใจหยุดลงก็คือ ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง ตัวนี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น และมีสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกายหลั่งออกมามากขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้การเผาผลาญนํ้าตาลผิดปกติไป โดยร่างกายมีการดื้ออินซูลินมากขึ้น และหลั่งอินซูลินไม่พอ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานเพิ่มขึ้น... 

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานแต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เมื่อติดตามต่อไปในอนาคตจะ มีความเสี่ยงในการเกิดเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งความเสี่ยงนี้ไม่ได้เกิดมาจากภาวะอ้วนเท่านั้น แต่เกิดจากการที่มีระดับออกซิเจนในร่างกายตกเป็นระยะ และการนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่องนี้ มีผลต่อการทำงานของตับอ่อนในการหลั่งอินซูลินและการตอบสนองต่ออินซูลินของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก ศ.พญ.สิริมนต์ ริ้วตระกูล ประเทืองธรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและ University of Illinois at Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/691133

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา