Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การค้นพบช้าส่งผลกับการรักษาอย่างไร

สำคัญมาก เบาหวานทำให้ทั่วร่างกายเปลี่ยนไปหมดอย่างไม่รู้ตัว เพราะว่ามันเดินทางไปตามเส้นเลือด ทุกอณูในตัวเรามีน้ำตาลไปถึง ก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีน้ำในทุกส่วน ถ้าน้ำตาลเหล่านี้มากเกินไป น้ำตาลที่ย่อยไม่หมดก็แปรสภาพไป สารที่แปรสภาพนี้ก็ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ แล้วเกิดเป็นโรคแทรกตามมา

ถ้าเราเป็นโดยไม่รู้ตัวมา 8 ปี นั่นคือเราไม่ได้รักษา สิ่งที่เบาหวานไปทำลายและทำร้ายนี่มันเยอะมากแล้ว เช่น ตาเสีย ไตเสีย เส้นเลือดหัวใจเริ่มตีบ หลอดเลือดสมองเริ่มตีบ สิ่งเหล่านี้ไม่มีอาการทั้งนั้น ถ้าเราไม่รู้และไม่ได้รักษา หรือแม้รู้ว่าเป็นแต่ไม่รักษา น้ำตาลก็สร้างความเสียหายให้ตัวคนคนนั้น สมมติคนหนึ่งเริ่มเป็นเบาหวานปีนี้ กว่าจะเกิดโรคแทรกที่แสดงอาการก็ 10 กว่าปีไปแล้ว แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่อยู่กับเบาหวาน ร่างกายก็โดนทำร้ายไปเรื่อยๆ

เพราะฉะนั้นหมอถึงบอกว่าคนส่วนใหญ่เชื่อว่าตัวเองรู้สึกสบายดี คิดว่าแข็งแรง ทั้งที่โรคมาแล้ว ถึงมีคำว่า “คัดกรองโรคเบาหวาน” คือไปตรวจสุขภาพเพื่อดูว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ แต่ถ้าเป็นรายที่มีอาการแล้ว เช่น ตามัว ไปตรวจตา ถึงเพิ่งจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน คือเบาหวานขึ้นตา

เริ่มต้นทั้งตัวเบาหวานเอง และโรคแทรกจากเบาหวาน มันไม่มีอาการ แต่ถ้าเป็นโรคแทรกแบบเฉียบพลัน เช่นน้ำตาลขึ้นสูงมากๆ อาจระบุโรคได้ง่าย บางคนขึ้น 800-1,000 นี่ซึมมาโรงพยาบาลเลย อันนี้จะเร็วหน่อย 1-2 สัปดาห์ก็มีอาการชัด หรือเด็กที่เป็น DKA[1] หรือผู้ใหญ่ที่เป็นชนิดที่ 2 เป็น DKA คือเลือดเป็นกรด อาจจะไม่ถึงอาทิตย์ หรือแค่ 1-2 วัน ก็อยู่ไม่ไหว เพราะว่าเหนื่อยหอบจนต้องมาโรงพยาบาล เราเรียกกรณีนี้ว่าเป็นโรคแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ซึ่งรักษาหายได้

แต่โรคแทรกซ้อนที่เรื้อรัง ถ้าเป็นแล้วก็เป็นเลย อย่างดีก็แค่ช่วยชะลอไม่ให้อวัยวะเสื่อมหรือเสียเร็ว เช่น ไตเริ่มไม่ดี ก็ต้องรักษาเบาหวานและควบคุมปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะยืดเวลาที่จะต้องล้างไตออกไปได้อีก จาก 5 ปี เป็น 10 ปี

 อ่านต่อ https://www.the101.world/wannee-interview/

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา