Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เวทีถกโรคเบาหวาน กับภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน

 

สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยภายใต้โครงการป้องกันและส่งเสริม คนไทยไม่ให้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สนับสนุน โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเวทีระดมทีมแพทย์ บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญด้านงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินจากทั่วประเทศกว่า 100 คน จัดอบรมภายใต้แนวคิด มีสุขภาพดี” คุมได้ แก้ไขได้ทัน สรรค์ความช่วยเหลือ”

โดยมีหัวข้อที่ น่าสนใจ ได้แก่ คำถามที่พบบ่อยจากผู้ป่วยเบาหวาน และแนวทางปฏิบัติทำให้ไม่เกิดการ เจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคเบาหวาน โดย รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ พญ.ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อมไร้ท่อและโรคเบาหวานโรงพยาบาลเลิดสิน

สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยขณะนี้ พบว่า ในคนไทย 11 คน จะพบผู้ป่วย 1 คน หรือ คิดเป็น ร้อยละ 9.8 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งเบาหวานที่พบบ่อยคือ เบาหวานที่เกิด กับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ที่กำหนดหรืออ้วน หรือมีประวัติทางกรรมพันธุ์

รศ.พญ.ทิพาพร กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลนั้น มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

1.แทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน คือ มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ-สูง อย่างรุนแรง โดยผู้มีน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 ส่วนภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้นจะมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126

2.แทรกซ้อนแบบเรื้อรัง จะเป็นลักษณะของ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาไม่มีแรง โรคหัวใจ หรือ โรคจากการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือผู้ป่วยเบาหวานที่ขาเป็นแผล จนต้องตัดขา เป็นต้น

พญ.ฐิตินันท์ กล่าวว่า ปัจจัยที่ควบคุมโอกาสการเกิดโรคเบาหวานได้คือ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายแอโรบิก สัปดาห์ละ 150 นาทีเป็นอย่างน้อย ลดอาหารหวานและอาหารที่ให้พลังงานเยอะ กินอาหารตรงเวลา  สามารถชะลอการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้ถึง 28% โดยไม่ต้องอาศัยยาให้เสีย ค่าใช้จ่าย ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด

https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_634433

  

{gallery}knowledge/dmthai_538{/gallery}

 

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา