Copyright 2024 - สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อติดเชื้อโควิด 19 ร่างกายเข้าสู่ภาวะ stress เชื้อไวรัสอาจก่อให้เบต้าเซลล์ของตับอ่อนเสียหาย เกิดการกระตุ้นการหลั่งสารอักเสบ และ counterregulatory hormone (catecholamine, cortisol) ปัจจัยต่างๆดังกล่าว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงและน้ำตาลสูงวิกฤติได้ ทั้งผู้เป็นเบาหวานและไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน

หากน้ำตาลในเลือดสูง คุมไม่ได้ เกิดการลดการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte-proliferative responses and  decreased function of neutrophils and macrophages) ส่งผลให้การติดเชื้อโควิด 19 รุนแรงขึ้นอีก

หากติดเชื้อลงปอด มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาหลายชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยิ่งส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอีกเช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจลดกิจกรรมทางกายที่เคยทำ ก็ส่งผลให้เบาหวานคุมยาก มีโรคแทรกจากเบาหวานเพิ่มขึ้นได้ จากการศึกษาของ Ghosal S. พบว่า The projected increase in complication rate was 2.9% for peripheral neuropathy, 2.8% for diabetic retinopathy, 0.5% for stroke, 0.9% for heart attacks, and 14.2% and 9.3% for proteinuria and microalbuminuria เป็นต้น

ข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

- ควรออกกำลังสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน  

- รับประทานอาหารมีประโยชน์ เน้นไฟเบอร์และโปรตีน  ลดไขมัน แป้งและน้ำตาล  เพื่อให้ง่ายต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือด

- รับประทานยาสม่ำเสมอ

- สังเกตอาการแทรกซ้อน เช่น ชาเท้า เท้าเป็นแผล เจ็บอก หรือ อาการทางหลอดเลือดสมอง

ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19  เพื่อลดการติดเชื้อ และ/หรืิอความรุนแรงของการติดเชื้อ

อ่านต่อ https://www.dovepress.com/assessment-and-management-of-diabetic-patients-during-the-covid-19-pan-peer-reviewed-fulltext-article-DMSO

f t g m

ภาคี

 

                       

   

 

ค้นหา